ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
การประกันภัยอุบัติเหตุ เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อผู้เอาประกันภัยตลอด 24 ชั่วโมง
![]() |
เมื่อเกิดอุบัติเหตุอันไม่คาดคิดทำให้ท่าน ได้รับความบาดเจ็บทางร่างกาย และหากการบาดเจ็บนั้นส่งผลให้ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจะเข้ามารับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของท่านตามจำนวนเงินที่จ่ายไปจริงแต่ไม่เกินทุนประกันภัย หรือจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้รับผลประโยชน์หากผู้เอาประกันภัยต้องสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต |
---|
คำนิยามอุบัติเหตุ
กรมธรรม์อุบัติเหตุส่วนบุคคล ให้ความคุ้มครองการสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจาก
1. การบาดเจ็บทางร่างกาย
1.1 มีร่องรอยฟกช้ำ จากการกระแทกให้เห็นชัดเจน
1.2 มีบาดแผลให้เห็นได้จากภายนอก หรือ
1.3 การบาดเจ็บภายในที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ว่าเกิดจากอุบัติเหตุ
2. การบาดเจ็บโดยอุบัติเหตุ จะต้อง
- เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ทำให้เกิดผลที่มิได้เจตนาหรือคาดหวัง
- เกิดจากวิถีของอุบัติเหตุ ต้นเหตุ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเช่น ยกของหนักขึ้นบันไดแล้ว
บันไดหัก ตกลงมาบาดเจ็บถือเป็นวิถีของอุบัติเหตุ เว้นแต่หากบันไดไม่หักแต่บาดเจ็บเพราะการยกของนั้น
ก็ไม่ถือว่าเกิดจากวิถีของอุบัติเหตุ
3. โดยตรงและเอกเทศ (Directly and Solely)
การบาดเจ็บต้องเกิดจากอุบัติเหตุโดยตรงและเป็นเอกเทศปราศจากสาเหตุอื่น
ตัวอย่างที่ไม่คุ้มครอง โดนตะปูตำเท้าและต่อมาต้องตัดขา เพราะผู้เอาประกันมีปัญหาเรื่อง
โรคเบาหวานจนแผลเน่าเนื้อเยื่อตาย หรือมีปัญหาที่ระบบหลอดเลือดจนส่งเลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะส่วนปลายไม่ได้ ลักษณะเช่นนี้ไม่ได้ถือว่าสูญเสียอวัยวะจากอุบัติเหตุโดยตรง
4. การบาดเจ็บซึ่งเกิดจากภายนอก
สาเหตุของอุบัติเหตุต้องเกิดจากปัจจัยภายนอกร่างกาย แล้วทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกายของ
ผู้เอาประกันภัย เช่น การถูกรถชนแล้วทำให้ศีรษะถูกกระแทกเป็นเหตุเลือดคลั่งในสมอง
ตัวอย่างที่ไม่คุ้มครองเพราะถือว่าไม่ได้มาจากปัจจัยภายนอก
- เป็นลมหน้ามืดล้มลงก่อน แล้วทรุดตัวลง
- เส้นเลือดในสมองแตก เนื่องจากความดันโลหิตสูงแล้วจึงล้มลง
- ปวดหลัง เนื่องจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง หรือจากการ
ก้มลงไปยกของหนักผิดท่า
หมายเหตุ สาเหตุเหล่านี้ต้องให้แพทย์ช่วย ชันสูตร ถึงสาเหตุการตาย
การประกันอุบัติเหตุมีแบบความคุ้มครองให้เลือกอย่างไร
ในกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล และอุบัติเหตุกลุ่มนั้น จะมีแบบให้เลือก 2 แบบ คือ แบบ อบ.1 และ แบบ อบ.2 ซึ่งแบบ อบ.1 จะให้ความคุ้มครองน้อยกว่าแบบ อบ.2
แบบ อบ.1 จะมีความคุ้มครองให้เลือกซื้อ 4 ความคุ้มครอง ได้แก่
1. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/สายตา การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
2. การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง
3. การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน
4. การรักษาพยาบาล
แบบ อบ.2 จะให้ความคุ้มครองเพิ่มจาก อบ.1 คือ การสูญเสียนิ้ว การสูญเสียการรับฟังเสียง
การพูดออกเสียง และการทุพพลภาพถาวรบางส่วน

ข้อยกเว้นการจ่ายผลประโยชน์
การประกันภัยอุบัติเหตุ จะมุ่งให้ความคุ้มครองที่เป็นความเสี่ยงภัยพื้นฐานโดยทั่วไปตามคำนิยามอุบัติเหตุข้างต้นเท่านั้น ดังนั้นจึงมีการกำหนดข้อยกเว้นในกรมธรรม์ที่จะไม่คุ้มครองในเหตุการณ์บางอย่าง อาทิเช่น
1. การกระทำของผู้เอาประกันภัยขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุราหรือยาเสพติด
2. การฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายร่างกายตนเอง
3. การแท้งลูก
4. สงคราม การปฏิบัติ การกบฎ
5. การจลาจล การนัดหยุดงาน การที่ประชาชนก่อความวุ่นวายลุกฮือต่อต้านรัฐบาล
6. การแผ่รังสีหรือกัมมันตภาพรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ อาวุธนิวเคลียร์
7. การเล่นหรือแข่งกีฬาอันตราย เช่น การดำน้ำ การเล่นบันจี้จั๊มพ์ เล่นสกี การแข่งรถ แข่งเรือ แข่งสเก็ต
8. ขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
9. ขณะที่โดยสารอยู่ในเครื่องบินที่มิใช่สายการบินพาณิชย์ เช่น เฮลิคอปเตอร์
10. ขณะที่เข้าร่วมการทะเลาะวิวาท ก่ออาชญากรรม หรือหลบหนีการจับกุม
11. ขณะที่เข้าปราบปรามหรือปฏิบัติการทางสงครามหากผู้เอาประกันภัยเป็นทหาร ตำรวจ หรืออาสาสมัคร
ข้อยกเว้นการจ่ายผลประโยชน์เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่
โดยทั่วไปในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องการให้ได้รับความคุ้มครองในเหตุการณ์ที่ระบุไว้ในข้อยกเว้นก็สามารถที่จะจ่ายเบี้ยประกันภัย เพิ่มเติมเพื่อขอขยายความคุ้มครองได้ ในบางหัวข้อเช่น ขยายเพิ่มขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
หากเกิดภัยขึ้นตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ผู้เอาประกันภัยควรปฏิบัติเช่นไรจึงจะมีสิทธิ์
ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
เมื่อผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุต้องแจ้งให้ทางบริษัทฯทราบโดยทันที
เอกสารสำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาล
- ใบเสร็จตัวจริง กรณีเบิกเฉพาะส่วนที่เกินจากประกันอื่นต้องรับรองสำเนาใบเสร็จ
- พร้อมแจ้งยอดที่ได้จ่ายไปแล้ว
- ใบรับรองแพทย์
- เคลมฟอร์ม (จากบริษัทประกันภัย)
ในกรณีที่ประสบเหตุจนถึงแก่ชีวิต ผู้รับผลประโยชน์ต้องแจ้งให้บริษัทฯทราบโดยทันที และนำหลักฐานอาทิเช่น ใบแจ้งความ ใบรายงานของแพทย์ ใบมรณะบัตร เป็นต้น ส่งมอบให้บริษัทฯ
หมายเหตุ: ***สำหรับการพิจารณาต่ออายุกรมธรรม์นั้น ทางบริษัทประกันภัยจะพิจารณาจากประวัติการเคลมของแต่ละกรมธรรม์
***มีการปรับเบี้ยเพิ่มสำหรับกรณีผู้เอาประกันภัยที่ทำประกันภัยต่อเนื่องจนอายุครบ 60 ปี สำหรับอายุ 61-62ปี ปรับเบี้ยเพิ่ม 20% และ อายุ63-65 ปรับเบี้ยเพิ่ม 40% โดยประมาณ ทั้งนี้ขอพิจารณาประวัติการเคลมประกอบ เป็นกรณีไป
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ |